ผู้โดยสารสามารถนำพาสัมภาระต่อไปนี้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและข้อจำกัดของการบินไทย
เกณฑ์พิจารณาตามน้ำหนักของสัมภาระใช้กับการเดินทางในลักษณะต่อไปนี้
- การเดินทางภายในประเทศไทยตลอดเส้นทาง
- การเดินทางภายในทีซี 3 (เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) และการเดินทางระหว่างทีซี 2 (ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง) และทีซี 3 (เอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์)
เกณฑ์พิจารณาตามจำนวนชิ้นของสัมภาระใช้กับการเดินทางในลักษณะต่อไปนี้
- การเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา หากท่านเดินทางด้วยเที่ยวบินของการบินไทยตลอดทั้งการเดินทาง สิทธิ์น้ำหนักสัมภาระของท่านจะเป็นดังนี้
น้ำหนักสัมภาระอนุญาตสำหรับช่วงของการเดินทางในประเทศเท่านั้น
ประเภท |
น้ำหนักสัมภาระทุกชิ้นรวมกันสูงสุด |
ชั้นธุรกิจ (Royal Silk Class) |
40 กิโลกรัม (88 ปอนด์) |
ชั้นประหยัดพิเศษ |
30 กิโลกรัม (66 ปอนด์) |
ชั้นประหยัด (Economy Class) |
30 กิโลกรัม (66 ปอนด์) |
ทารกอายุไม่เกิน 2 ปี (ไม่มีที่นั่ง) |
10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) |
น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิด |
20 กิโลกรัม (44 ปอนด์) |
น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิดแพลตินัม |
30 กิโลกรัม (66 ปอนด์) |
น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิดซิลเวอร์ |
10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) |
หากการเดินทางของท่านใช้สายการบินมากกว่าหนึ่งสายการบิน โปรดตรวจสอบกฎเรื่องสัมภาระของแต่ละสายการบินให้เรียบร้อย ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบรหัสร่วม (Code Share) นั้นกฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้บินจริง นั่นหมายความว่าในบางกรณีกฎเรื่องสัมภาระที่ใช้ในการเดินทางของท่านอาจเป็นกฎของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญากับการบินไทย ท่านสามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสาร/สำรองที่นั่ง
สัมภาระที่ไม่มีค่าใช้จ่าย
นโยบายสัมภาระภายใต้เกณฑ์พิจารณาตามน้ำหนัก ใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ ภายในทีซี 3 และ ระหว่างทีซี 2 และทีซี 3
ประเภท |
น้ำหนักสัมภาระทุกชิ้นรวมกันสูงสุด |
ชั้นหนึ่ง (Royal First Class) |
50 กิโลกรัม (110 ปอนด์) |
ชั้นธุรกิจ (Royal Silk Class) |
40 กิโลกรัม (88 ปอนด์) |
ชั้นประหยัดพิเศษ |
40 กิโลกรัม (88 ปอนด์) |
ชั้นประหยัด (Economy Class) |
30 กิโลกรัม (66 ปอนด์) |
ทารกอายุไม่เกิน 2 ปี (ไม่มีที่นั่ง) |
10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) |
น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิดพลัส และ สตาร์อัลลายแอนซ์โกลด์ |
20 กิโลกรัม (44 ปอนด์) |
น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิดแพลตินัม |
30 กิโลกรัม (66 pounds) |
น้ำหนักเพิ่มสำหรับผู้ถือบัตรรอยัลออร์คิดซิลเวอร์ |
10 กิโลกรัม (22 pounds)
|
หมายเหตุ:
1. เมื่อผู้โดยสารถูกเปลี่ยนชั้นที่นั่งให้ต่ำลงโดยไม่ตั้งใจ ให้พิจารณาค่าสัมภาระตามเกณฑ์ของชั้นที่นั่ง ระดับสูงได้ แม้จะมีการคืนค่าความต่างของราคาโดยสารให้ก็ตาม
2. ข้อยกเว้นจากน้ำหนักสัมภาระเพิ่ม สามารถปรับใช้ได้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางภายใต้เงื่อนไขของ การบินไทยและภาครัฐบาล
ข้อยกเว้นดังกล่าวจะปรับใช้ได้ โดยยึดเงื่อนไขตามประเภทของบัตรโดยสารเท่านั้น ตามข้อกำหนดหรือข้อตกลง ของรัฐบาล ประเภทชั้นโดยสารบางประเภท อาจได้รับการละเว้นค่าสัมภาระ โดยแยกการพิจารณาจาก ระบบทั่วไป การปรับการละเว้นค่าสัมภาระดังกล่าว จะมีการแจ้งไว้ในบัตรโดยสาร
3. เงื่อนไขในหมายเหตุข้อที่ 2 ใช้สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางจากประเทศไทยเท่านั้น สำหรับพื้นที่/ ประเทศอื่นๆ ให้พิจารณาตามเกณฑ์ของสายการบินประจำชาตินั้นๆ
4. ในกรณีเดินทางตามชั้นที่นั่งโดยสารแบบคละประเภท ซึ่งผู้โดยสารเดินทางโดย F-class ส่วนหนึ่ง และ C-, U-, หรือ Y-class อีกส่วนหนึ่ง การไม่เสียค่าสัมภาระนั้นควรยึดตามเกณฑ์ของค่าบัตรโดยสารที่จ่ายมาจริง
ในกรณีที่ผู้โดยสารที่จ่ายเงินเพื่อ F-class แต่อาจได้นั่งชั้น C-, U- หรือ Y-class เกณฑ์พิจารณาค่าสัมภาระ ก็ต้องใช้หลักเกณฑ์สำหรับที่นั่งแบบ F-class.
5. รถเข็นชนิดพับได้สามารถเก็บไว้ที่เก็บของเหนือศีรษะได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
หมายเหตุสำคัญ
• หากการเดินทางของท่านใช้สายการบินมากกว่าหนึ่งสายการบิน โปรดตรวจสอบกฎเรื่องสัมภาระของแต่ละ สายการบินให้เรียบร้อย ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบเที่ยวบินรหัสร่วม (Code Share)นั้น กฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบิน ซึ่งเป็นผู้บินจริง นั่นหมายความว่า ในบางกรณีกฎเรื่องสัมภาระที่ใช้ในการเดินทางของท่านอาจเป็นกฎ ของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญากับการบินไทย ท่านสามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จาก ตัวแทนการท่องเที่ยว หรือตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสาร/สำรองที่นั่ง
นโยบายสัมภาระ พิจารณาตามเกณฑ์จำนวน ใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ และ ไปยัง/มาจาก สหรัฐอเมริกาและแคนาดา
เส้นทาง |
ประเภท |
น้ำหนักสัมภาระทุกชิ้น รวมกันสูงสุด (เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับสัมภาระ น้ำหนักเกิน) |
จำนวน สัมภาระสูงสุด |
ขนาดใหญ่สุด ต่อกระเป๋า (เพื่อหลีก เลี่ยง ค่าปรับ ขนาดเกิน) |
เข้า/ออก จากสหรัฐอเมริกาและ แคนาดา |
ชั้นหนึ่ง (Royal First Class) |
32 กิโลกรัม (70 ปอนด์) |
2 |
158 ซม. (62 นิ้ว) |
ชั้นธุรกิจ |
32 กิโลกรัม (70 ปอนด์) |
2 |
158 ซม. (62 นิ้ว) |
|
ชั้นประหยัด |
23 กิโลกรัม (50 ปอนด์) |
2 |
158 ซม. (62 นิ้ว) |
|
ทารกอายุไม่เกิน 2 ปี (ไม่มีที่นั่ง) |
23 กิโลกรัม (50 ปอนด์) |
1 |
115 ซม. (45 นิ้ว) |
- ผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ ได้รับสิทธิ์สัมภาระฟรีสองชิ้น โดยน้ำหนักของ แต่ละชิ้นจะต้องไม่เกิน 32 กิโลกรัม (70 ปอนด์) และผลรวมของขนาดสัมภาระ (ความยาว + ความกว้าง + ความสูง) จะต้องไม่เกิน158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)
- ผู้โดยสารประเภทชั้นประหยัด ได้รับสิทธิ์สัมภาระฟรีสองชิ้น โดยน้ำหนักของแต่ละชิ้นจะต้องไม่เกิน 23 กิโลกรัม (50 ปอนด์) และผลรวมของขนาดสัมภาระ (ความยาว + ความกว้าง + ความสูง) จะต้องไม่เกิน158 เซนติเมตร (62 นิ้ว)
- สมาชิกบัตรรอยัลออร์คิดพลัส (อาร์โอพี) โกลด์และสมาชิกบัตรรอยัลออร์คิดแพลตินัมจะได้รับสิทธิพิเศษสัมภาระเพิ่มอีกหนึ่งชิ้น จากสิทธิ์สัมภาระทั่วไปของชั้นโดยสาร ทุกประเภท สิทธิพิเศษดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ร่วมกับสถานะสะสมไมล์การบิน สำหรับบัตรโดยสารชนิดออนไลน์ ทั้งหมด หรือบัตรโดยสารแบบเปลี่ยนสายการบิน ร่วมกับสายการบินอื่นที่ยอมรับเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ ได้เท่านั้น
- อัตราค่าบริการสัมภาระพิเศษ สามารถนำมาใช้พิจารณาขนาดและน้ำหนักที่เกินจากที่กำหนดตามปกติได้ โปรดติดต่อสำนักงานการบินไทยในพื้นที่ ส่วนการพิจารณาค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน สามารถดูได้จาก “ค่าบริการสัมภาระและค่าบริการทางเลือกของบริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน สำหรับการเดินทางไปยัง /ออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา”
หมายเหตุสำคัญ
หากการเดินทางของท่านใช้สายการบินมากกว่าหนึ่งสายการบิน โปรดตรวจสอบกฎเรื่องสัมภาระของแต่ละ สายการบินให้เรียบร้อย ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบรหัสร่วม (Code Share) ซึ่งรวมการสะสมไมล์ในอาณาเขตประเทศ สหรัฐอเมริกา/สหราชอาณาจักรนั้น สายการบินที่ทำหน้าที่การตลาด จะเป็นผู้กำหนดกฎสัมภาระ ในบางกรณี กฎเรื่องสัมภาระที่ใช้ในการเดินทางของท่าน อาจเป็นกฎของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญากับการบินไทย โดยท่านสามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จาก ตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสาร/สำรองที่นั่ง
นอกเหนือจากสัมภาระที่ผู้โดยสารสามารถฝากเข้าใต้เครื่องแล้ว ผู้โดยสารแต่ละท่านสามารถถือสัมภาระขึ้นเครื่องได้หนึ่งชิ้น ความยาวไม่เกิน 56 เซนติเมตร (22 นิ้ว) ความกว้างไม่เกิน 45 เซนติเมตร (18 นิ้ว) ความหนาไม่เกิน 25 เซนติเมตร (10 นิ้ว) ซึ่งขนาดนี้รวมล้อ มือจับและกระเป๋าด้านข้างแล้ว น้ำหนักสัมภาระถือขึ้นเครื่องจะต้องไม่เกิน 7 กิโลกรัม (15 ปอนด์) ทั้งนี้ผู้โดยสารจะต้องวางกระเป๋าไว้บนตู้เก็บเหนือศีรษะหรือใต้เบาะของตนเอง
- กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่เงิน กระเป๋าของสุภาพสตรี ความยาวไม่เกิน 37.5 เซนติเมตร (15 นิ้ว) ความกว้างไม่เกิน 25 เซนติเมตร (10 นิ้ว) ความหนาไม่เกิน 12.5 เซนติเมตร (5 นิ้ว) ซึ่งทั้งสามมิตินี้รวมกันจะต้องไม่เกิน 75 เซนติเมตร (30 นิ้ว) และน้ำหนักไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม (3.3 ปอนด์)
- เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคและเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเข้าข่ายนี้ด้วยเช่นกัน
- ไม้เท้า (ไม้ค้ำยัน) ที่ใช้โดยผู้โดยสารที่มีอายุ ผู้โดยสารที่ป่วยและผู้โดยสารที่มีความทุพพลภาพ
- กล้องหรือกล้องส่องทางไกลเล็ก
- อาหารเด็กเล็ก
หมายเหตุ
เจ้าหน้าที่อาจทำการสุ่มตรวจด้วยเครื่องตรวจและ/หรือตาชั่งที่เคาน์เตอร์เช็คอิน และ/หรือที่ประตูขึ้นเครื่องเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามข้อบังคับนี้
- ของเหลว เจล และสเปรย์ทุกชนิด ต้องบรรจุในภาชนะที่มีขนาดความจุไม่เกิน 100 มิลลิลิตร สำหรับภาชนะที่เกิน 100 มิลลิลิตร แม้จะบรรจุของเหลว เจล และสเปรย์ เพียงเล็กน้อย ก็ไม่สามารถ นำขึ้นเครื่องได้
- ภาชนะทั้งหมดต้องใส่รวมไว้ในถุงพลาสติกใสซึ่งเปิด-ปิดผนึกได้ โดยถุงพลาสติกใสต้องมีขนาดไม่เกิน 1 ลิตร
- ผู้โดยสารสามารถนำถุงพลาสติกใสขึ้นในห้องโดยสารได้เพียงคนละ 1 ถุง เท่านั้น และต้องแยกออกจากสัมภาระติดตัวอื่นๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเมื่อถึงจุดตรวจค้น
- ของเหลวที่ได้รับการยกเว้น ได้แก่ นม และ อาหารสำหรับเด็กทารกในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงยาที่มีเอกสารกำกับชัดเจน
- ของเหลว เจล และสเปรย์ ที่ซื้อจากร้านค้า ปลอดอากร (Duty free shops) ที่สนามบินหรือบนเครื่องบิน ต้องบรรจุในถุงพลาสติกใสปิดผนึกปากถุง ไม่มีร่องรอยการเปิดปากถุง และมีหลักฐานแสดงว่าได้ซื้อ ณ วันที่เดินทาง และควรตรวจสอบข้อมูลจากร้านค้าปลอดอากรก่อนซื้อสินค้า
สัมภาระที่ท่านผู้โดยสารนำติดตัวขึ้นบนเครื่องบินซึ่งมีน้ำหนักมากนั้น การนำขึ้นเก็บไว้ใน Overhead Locker อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อขณะยกหรือยามเกิดสภาวะอากาศแปรปรวน อาจตกหล่นลงใส่ตัวท่านเองหรือผู้โดยสารอื่นจนบาดเจ็บ อีกทั้งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน สัมภาระที่มีขนาดใหญ่และวางบนทางเดินก็จะกีดขวางช่องทางหนีภัยอันจะทำให้เกิดอันตรายได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของท่านผู้โดยสารทุกๆท่าน การบินไทยจึงใคร่ขอความร่วมมือท่านผู้โดยสารโปรดนำสัมภาระที่มีน้ำหนักไม่เกิน7กิโลกรัมและมีขนาดโดยรวมไม่เกิน45นิ้ว หรือ115 เซนติเมตร ขี้นเครื่องและเก็บสัมภาระไว้ในช่องเหนือศรีษะ
ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับช่วงของการเดินทางในประเทศเท่านั้น
สัมภาระน้ำหนักเกินทั้งหมดจะต้องถูกชั่งและเก็บค่าบริการก่อนที่ผู้โดยสารจะขึ้นเครื่อง น้ำหนักสัมภาระที่อนุญาตอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเคบิน ระดับสถานะ สถานะทางการทหาร เอกสารเดินทางและวันที่ซื้อค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะเรียกเก็บดังต่อไปนี้โดยไม่คำนึงถึงชั้นเดินทางของบัตรโดยสาร
บาทต่อกิโลกรัม (ระหว่าง...และ...) | กรุงเทพฯ | เชียงใหม่ |
---|---|---|
เชียงใหม่ | 60 | - |
เชียงราย | 70 | - |
หาดใหญ่ | 80 | - |
ขอนแก่น | 55 | - |
กระบี่ | 70 | - |
เกาะสมุย |
95 | - |
ภูเก็ต | 70 | 125 |
สุราษฎร์ธานี | 65 | - |
อุบลราชธานี | 60 | - |
อุดรธานี | 55 | - |
หมายเหตุ
1. “ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับเที่ยวบินในประเทศ” ข้างต้นนี้ให้ใช้ได้กับการเดินทางในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง
2. อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินคิดตามน้ำหนักที่เกินเป็นกิโลกรัมและเป็นสกุลเงินบาท
3. ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินต่อกิโลกรัมสำหรับบริการในประเทศใดๆของการบินไทยคือ 1.5% ของค่าบัตรโดยสารชั้นประหยัดแบบบินตรงเที่ยวเดียวปกติสูงสุด
4. ไม่อนุญาตให้ใช้อัตราส่วนลดของเด็กและเด็กเล็กได้
5. อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศจะแสดงแยกไว้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
6.หากมีการฝากสัมภาระผ่านตั้งแต่เที่ยวบินในประเทศของการบินไทยต่อเนื่องไปยังช่วงของการเดินทางระหว่างประเทศกับการบินไทย การคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะแบ่งคิดตามโซน
7. ช่วงของการเดินทางในประเทศกับการบินไทยคือโซน 1 (โปรดดูนิยามโซนต่างๆในตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ)
8. เงื่อนไขสำหรับข้อ 5 ในเรื่องการแปลงค่าเงิน ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินที่ประกาศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะแปลงเป็นสกุลเงินท้องถิ่นโดยใช้อัตราขายของธนาคารในวันที่มีการคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังกล่าว
ค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน (ภายในทีซี 3 และ ระหว่างทีซี 2 และทีซี 3)
สัมภาระน้ำหนักเกินทั้งหมดจะต้องถูกชั่งและเก็บค่าบริการก่อนที่ผู้โดยสารจะขึ้นเครื่อง น้ำหนักสัมภาระที่อนุญาตอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเคบิน ระดับสถานะ สถานะทางการทหาร เอกสารเดินทางและวันที่ซื้อ ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะเรียกเก็บดังต่อไปนี้โดยไม่คำนึงถึงคลาสของตั๋ว
สำหรับอัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน ก่อน/ ถึง 31 สิงหาคม 2561
อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินนี้ใช้เฉพาะช่วงของการเดินทางภายในทีซี 3 และ ระหว่างทีซี 2 และทีซี 3 ภายใต้เกณฑ์พิจารณาตามน้ำหนักและเป็นอัตราตามโซนดังนี้
ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม | ไปยัง โซน1 | ไปยัง โซน2 | ไปยัง โซน3 | ไปยัง โซน4 | ไปยัง โซน5 | ไปยัง โซน6 |
---|---|---|---|---|---|---|
ออกจากโซน1 | 12 | 15 | 40 | 45 | 70 | - |
ออกจากโซน2 | 15 | 40 | 45 | 55 | 70 | - |
ออกจากโซน3 | 40 | 45 | 55 | 60 | 70 | - |
ออกจากโซน4 | 45 | 55 | 60 | 70 | 70 | - |
ออกจากโซน5 | 70 | 70 | 70 | 70 | 70 | - |
ออกจากโซน6 | - | - | - | - | - | - |
หมายเหตุ
1. “ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับเที่ยวบินภายในทีซี 3 และ ระหว่างทีซี 2 และทีซี 3” ข้างต้นนี้ให้ใช้ได้กับการเดินทางในวันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง
2. อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินคิดตามน้ำหนักที่เกินเป็นกิโลกรัมสำหรับโซน 1-5
3. ไม่อนุญาตให้ใช้อัตราส่วนลดของเด็กและเด็กเล็กได้
4. อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกินไปยัง/มาจากโซน 6 หรือสหรัฐอเมริกา/แคนาดาคำนวณตามเกณฑ์พิจารณาตามจำนวนชิ้น (ข้อมูลเพิ่มเติมในหน้า “ค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน (ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา)
5. หากมีการฝากสัมภาระผ่านตั้งแต่เที่ยวบินในประเทศของการบินไทยต่อเนื่องไปยังช่วงของการเดินทางระหว่างประเทศกับการบินไทย การคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะแบ่งคิดตามโซน ช่วงของการเดินทางในประเทศกับการบินไทยคือโซน 1 (โปรดดูนิยามโซนต่างๆในตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ)
6. การแปลงค่าเงิน – ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินที่ประกาศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะแปลงเป็นสกุลเงินท้องถิ่นโดยใช้อัตราขายของธนาคารในวันที่มีการคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังกล่าว
7. นิยามของโซนต่างๆ
โซน |
นิยาม |
โซน 1 |
บังคลาเทศ/ กัมพูชา/ จีน (คุนหมิง)/ ลาว/ มาเลเซีย/ พม่า/ สิงคโปร์/ ไทยและเที่ยวบินในประเทศไทยของการบินไทย/ เวียดนาม/ เส้นทางระหว่างฮ่องกง และ ไทเป/ เส้นทางระหว่าง ไทเป และ เกาหลีใต้/ เส้นทางระหว่างการาจี และ มัสกัต/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ต และ สิงคโปร์/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ต และ กัวลาลัมเปอร์ |
โซน 2 |
บรูไนดารุสซาลาม/ จีน (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เฉิงตู กวางโจว เซี่ยเหมิน ฉงชิ่ง ฉางซา)/ ฮ่องกง/ อินเดีย/ อินโดนีเซีย/ มาเก๊า/ เนปาล/ ฟิลิปปินส์/ ศรีลังกา/ ไต้หวัน - จีน/ เส้นทางระหว่าง ฮ่องกง และ เกาหลีใต้/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ต และ ฮ่องกง/ เส้นทางระหว่างภูเก็ตและปักกิ่ง
|
โซน 3 |
ออสเตรเลีย (เพิร์ท)/ บาห์เรน/ ญี่ปุ่น/ เกาหลี/ โอมาน/ ปากีสถาน/ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์/ อิหร่าน/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ตและเกาหลีใต้/ เส้นทางระหว่าง ภูเก็ตและเพิร์ท/ เส้นทางระหว่างภูเก็ตและไทเป |
โซน 4 |
ออสเตรเลีย (ซิดนีย์ บริสเบน เมลเบิร์น)/ อียิปต์/ อิสราเอล/ มาดากัสการ์/ ตุรกี/ รัสเซีย (มอสโก) |
โซน 5 |
ออสเตรีย/ เบลเยียม/ เดนมาร์ค/ เชโกสโลวาเกีย/ ฟินแลนด์/ ฝรั่งเศส/ ฮังการี/ เยอรมัน/ อิตาลี/ เนเธอร์แลนด์/ นิวซีแลนด์/ นอร์เวย์/ โปแลนด์/ โปรตุเกส/ แอฟริกาใต้/ สเปน/ สวีเดน/ สวิตเซอร์แลนด์/ สหราชอาณาจักร/ เส้นทางระหว่าง สตอกโฮล์มและภูเก็ต/ เส้นทางระหว่าง โคเปนเฮเกน และ ภูเก็ต/ เส้นทางระหว่าง แฟรงก์เฟิร์ต และภูเก็ต |
โซน 6 |
สหรัฐอเมริกาและแคนาดา |
หมายเหตุ
1. “ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน (ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา)” ข้างต้นนี้ให้ใช้ได้กับการเดินทางในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลง
2. ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินที่ประกาศเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะแปลงเป็นสกุลเงินท้องถิ่นโดยใช้อัตราขายของธนาคารในวันที่มีการคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินดังกล่าว
3. หากมีการฝากสัมภาระผ่านตั้งแต่เที่ยวบินในประเทศของการบินไทยต่อเนื่องไปยังช่วงของการเดินทางระหว่างประเทศกับการบินไทย การคิดค่าบริการสัมภาระส่วนเกินจะแบ่งคิดตามโซน ช่วงของการเดินทางในประเทศกับการบินไทยคือโซน 1 (โปรดดูนิยามโซนต่างๆในตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ)
4. ไม่อนุญาตให้ใช้อัตราส่วนลดของเด็กและเด็กเล็กได้
5. ตารางค่าบริการสัมภาระส่วนเกินข้างต้นให้ใช้กับเที่ยวบินของการบินไทยเท่านั้น
6. ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าบริการสำหรับสัมภาระในส่วนที่เกินกว่าที่อนุญาตไม่ว่าจะซื้อและใช้ตั๋วคลาสใดก็ตาม
7. ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินให้ใช้กับสัมภาระต่อไปนี้
ก. สัมภาระที่เกินจำนวนชิ้นที่อนุญาต: สัมภาระแต่ละชิ้นที่เกินกว่าที่อนุญาต 2 ชิ้น
ข. สัมภาระขนาดเกิน: สัมภาระแต่ละชิ้นที่มีมิติเกิน 62 นิ้ว (158 เซนติเมตร) แต่ไม่เกิน 80 นิ้ว (203 เซนติเมตร)
8. ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสองเท่าให้ใช้กับสัมภาระต่อไปนี้
ก. สัมภาระที่ขนาดเกินและเกินจำนวนชิ้นที่อนุญาต: สัมภาระแต่ละชิ้นที่เกินกว่าที่อนุญาต 2 ชิ้นและมิติเกิน 62 นิ้ว (158 เซนติเมตร) แต่ไม่เกิน 80 นิ้ว (203 เซนติเมตร)
9. สัมภาระใดๆที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
ก. มิติรวมเกิน 80 นิ้ว (203 เซนติเมตร) และ/หรือ
ข. น้ำหนักเกิน 70 ปอนด์ (32 กิโลกรัม) จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
- สัมภาระดังกล่าวไม่อาจถือว่าเป็นสัมภาระที่มากับผู้โดยสารเว้นเสียแต่ว่าจะมีการตกลงกับการบินไทยเป็นการล่วงหน้าและได้รับการยืนยันแล้วเสียก่อน
- สัมภาระดังกล่าวจะต้องถูกชั่งน้ำหนักและคิดค่าบริการสามเท่าสำหรับ 45 กิโลกรัมแรก เศษทุก 10 กิโลกรัมจากนั้นคิดหนึ่งเท่า
ประเภทสัมภาระพิเศษเพื่อการคำนวณค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก (ภายในทีซี 3 และระหว่างทีซี 2 และทีซี 3) หรือตามเกณฑ์ชิ้น (ไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา/แคนาดา)
ประเภท |
การอนุญาต |
ค่าบริการ |
หมายเหตุ |
จักรยาน |
อนุญาต** |
หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น |
• อนุญาตนำจักรยานรวมในสิทธิ์สัมภาระ 1 คัน/ท่าน |
โบว์ลิ่ง |
อนุญาต |
หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น |
|
อุปกรณ์ตกปลา |
อนุญาต |
หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น |
|
อุปกรณ์กอล์ฟ |
อนุญาต |
หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น
|
• ผู้โดยสารหนึ่งท่านสามารถนำพาอุปกรณ์กอล์ฟได้หนึ่งชุดในสิทธิ์ |
อุปกรณ์สกีหิมะ / น้ำ |
อนุญาต |
หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น |
|
เซิร์ฟบอร์ด / วินด์เซิร์ฟ |
ไม่อนุญาต หมายเหตุ โปรดดูข้อยกเว้นในหมายเหตุ |
หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น
|
• ในกรณีที่ผู้โดยสารเดินทางเข้าหรือออกจากประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศนิวซีแลนด์ ผู้โดยสารสามารถนำเซิร์ฟบอร์ด หรือ/ วินด์เซิร์ฟ 1 ชิ้นรวมเข้าในสิทธิ์สัมภาระ • ผู้โดยสารได้รับสิทธิ์ดังกล่าว ในกรณีที่ผู้โดยสารมีการแวะพัก (Stopover) ที่กรุงเทพฯ |
ดำน้ำแบบสกูบา |
อนุญาต |
หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น |
|
การขนส่งสัตว์เลี้ยง |
ไม่อนุญาต |
ชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น |
•สามารถขนส่งได้เฉพาะ สุนัขและแมวเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฏระเบียบของแต่ละประเทศจุดหมายปลายทาง
|
อาวุธปืนเพื่อการกีฬา |
อนุญาต*** |
หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น |
|
เครื่องดนตรี |
อนุญาต |
หากเกินกว่าสิทธิ์จะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินตามเกณฑ์น้ำหนัก/เกณฑ์จำนวนชิ้น |
|
*ค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน
ก: ค่าบริการสัมภาระส่วนเกินสำหรับเที่ยวบินที่ให้บริการโดยการบินไทยตลอดทั้งเส้นทาง
อัตราค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน:
- หลักการพิจารณาน้ำหนัก โปรดอ้างอิงจาก ‘ค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน’ (ภายใน ทีซี 3 และ ระหว่าง ทีซี 2 และ ทีซี 3)
- หลักการพิจารณาราคา โปรดอ้างอิงจาก ‘ค่าบริการสัมภาระส่วนเกิน’ (เดินทางไปยัง/ออกจากสหรัฐอเมริกา /แคนาดา)
ค่าบริการสัมภาระพิเศษต่อหน่วย (อัตราคงที่):
- หลักการพิจารณาน้ำหนัก โปรดอ้างอิงจาก *ค่าบริการส่วนเกินสำหรับสัมภาระพิเศษ ภายในบริเวณ ทีซี 3 และระหว่าง ทีซี 2 และทีซี 3 (สำหรับบัตรโดยสารที่ออกจำหน่ายทั่วโลก ใน/หลัง วันที่ 16 ธันวาคม 2556)
- หลักการพิจารณาราคา โปรดอ้างอิงจาก *ค่าบริการส่วนเกินสำหรับสัมภาระพิเศษ ที่เดินทางไปยัง/ออกจาก สหรัฐอเมริกา (สำหรับบัตรโดยสารที่ออกจำหน่ายทั่วโลก ใน/หลังวันที่ 16 ธันวาคม 2556)
*ค่าบริการส่วนเกินสำหรับสัมภาระพิเศษ (สำหรับบัตรโดยสารที่ออกจำหน่ายทั่วโลกใน/หลังวันที่ 16 ธันวาคม 2556)
ก. สำหรับเครื่องบินปฏิบัติการของการบินไทย ซึ่งประกอบด้วย TG2000-2999 และ เครื่อง TG ที่เชื่อมกับสายการบินของการบินไทยเท่านั้น คลิก
ข. สำหรับเครื่องบินการบินไทยที่เชื่อมกับเครื่องของสายการบินอื่น คลิก
หมายเหตุ
หากการเดินทางของท่านใช้สายการบินมากกว่าหนึ่งสายการบิน โปรดตรวจสอบกฎเรื่องสัมภาระของแต่ละสายการบินให้เรียบร้อย ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบรหัสร่วม (Code Share)นั้นกฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้บินจริง นั่นหมายความว่าในบางกรณีกฎเรื่องสัมภาระที่ใช้ในการเดินทางของท่านอาจเป็นกฎของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญากับการบินไทย ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซท์ของสายการบินซึ่งเป็นคู่สัญญาดังต่อไปนี้
สายการบินออลนิปปอน (All Nippon Airways)
สายการบินลุฟท์ฮันซ่า (Lufthansa Airline)
สายการบินบรัสเซลส์ (Brussel Airline)
สายการบินไทยสมายล์ (Thai Smile Airways)
ข้อมูลทั่วไป
สิทธิ์น้ำหนักสัมภาระและค่าบริการสัมภาระส่วนเกินต่อไปนี้ใช้กับสัมภาระที่รับฝากจากจุดที่เริ่มออกเดินทางไปจนถึงที่หายปลายทางโดยไม่มีสต็อปโอเวอร์ ณ จุดใดจุดหนึ่งระหว่างการเดินทาง หากผู้โดยสารมีสต็อปโอเวอร์ที่จุดใดระหว่างทางจะต้องมีการประเมินสิทธิ์น้ำหนักสัมภาระใหม่และชำระค่าสัมภาระ (ถ้ามี) โดยนับตั้งแต่จุดที่เริ่มเดินทางต่อหลังจากสต็อปโอเวอร์เป็นต้นไป
หากท่านเดินทางโดยมีสัมภาระน้ำหนักเกินหรือจำนวนชิ้นเกินกว่าที่อนุญาต ท่านจะต้องชำระค่าบริการสัมภาระส่วนเกินด้วย การบินไทยมีการคิดค่าบริการดังกล่าวในอัตราที่ไม่เท่ากันตามสัมภาระที่ท่านฝากเข้าใต้เครื่องเมื่อเดินทางกับการบินไทย หากในการเดินทางของท่านและ/หรือช่วงของการเดินทางที่มีการฝากสัมภาระของท่านมีการใช้บริการของสายการบินมากกว่าหนึ่งสาย กฎเรื่องสัมภาระที่ใช้อาจเป็นของอีกสายการบินหนึ่งนั้นได้
- การเลือกใช้กฎเรื่องสัมภาระในการเดินทางแบบใช้หลายสายการบิน
มติที่ 302 ของ IATA ในเรื่องสัมภาระสามารถใช้บังคับกับสายการบินที่เป็นสมาชิก IATA (รวมถึงการบินไทย) มตินี้เป็นการกำหนดว่าจะใช้กฎเรื่องสัมภาระของสายการบินใดในกรณีที่การเดินทางของท่านและ/หรือช่วงของการเดินทางที่มีการฝากสัมภาระของท่านมีการใช้บริการของสายการบินสองสายหรือมากกว่านั้น (บทบัญญัติเรื่องสัมภาระในการเดินทางแบบใช้หลายสายการบิน) การบังคับใช้มติที่ 302 ของ IATA นั้นจะแบ่งตามแทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์แอเรียต่างๆดังนี้
IATA แบ่งพื้นที่โลกเป็นสามพื้นที่หลักเพื่อความสะดวกในการปรับค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ ได้แก่ แอเรียที่ 1 แอเรียที่ 2 และแอเรียที่ 3 การแบ่งแอเรียนี้ใช้เพื่อการตีความกฎค่าบริการและการคำนวณค่าโดยสารทางอาการระหว่างประเทศ บางครั้งสายการบินจะเรียกแอเรียเหล่านี้ว่าทีซี (แทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์) เช่น ทีซี 1 (หมายถึงแอเรียที่ 1) ทีซี 2 (หมายถึงแอเรียที่ 2) และ ทีซี 3 (หมายถึงแอเรียที่ 3)
ในแต่ละแอเรียจะมีซับแอเรียหรือภูมิภาคแยกย่อยซึ่งในบริบทของ IATA นั้นอาจจะมีความหมายแตกต่างจากบริบททางภูมิศาสตร์ปกติ
แอเรีย 1 คือ โลกตะวันตกทั้งหมด
แอเรีย 2 คือ ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา
แอเรีย 3 คือ เอเชียทั้งหมดและเกาะใกล้เคียง (ยกเว้นเกาะที่อยู่ในทีซี 2 แล้ว) ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และเกาะใกล้เคียง ตลอดจนหมู่เกาะแปซิฟิก (ยกเว้นเกาะที่อยู่ในทีซี 1 แล้ว)
การพิจารณาเลือกกฎเรื่องสัมภาระของสายการบิน
1. สำหรับการเดินทางระหว่างแทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์แอเรียสองแอเรียหรือมากกว่า สายการบินที่ทำการบินในช่วงแรกที่ข้ามจากแอเรียหนึ่งสู่อีกแอเรียหนึ่งเป็นผู้กำหนดกฎเรื่องสัมภาระ
2. สำหรับการเดินทางระหว่างแทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์ซับแอเรีย สายการบินที่ทำการบินในช่วงแรกที่ข้ามจากซับแอเรียหนึ่งสู่อีกซับแอเรียหนึ่งเป็นผู้กำหนดกฎเรื่องสัมภาระ
3. สำหรับการเดินทางภายในแทรฟฟิคคอนเฟอเรนซ์ซับแอเรียใดๆ สายการบินที่ทำการบินในช่วงแรกที่ข้ามระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดกฎเรื่องสัมภาระ
4. สำหรับการเดินทางภายในประเทศใดประเทศหนึ่ง สายการบินที่ทำการบินในช่วงแรกเป็นผู้กำหนดกฎเรื่องสัมภาระ
หมายเหตุ
หากการเดินทางของท่านมีการใช้เที่ยวบินแบบโค๊ดแชร์ กฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้บินจริง
การเดินทางไปยัง/มาจากสหรัฐอเมริกา
โดยทั่วไปแล้วสำหรับผู้โดยสารซึ่งบัตรโดยสารระบุจุดเริ่มออกเดินทางหรือจุดหมายปลายทางเป็นสหรัฐอเมริกาและ/หรือเขตปกครองของสหรัฐอเมริกาจะใช้กฎเรื่องสัมภาระซึ่งได้เลือกไว้แต่แรกตลอดทั้งการเดินทางแม้ว่าจะมีสต็อปโอเวอร์ก็ตาม
หากมีการใช้กฎเรื่องสัมภาระของการบินไทยในการเดินทางของท่านไปยังสหรัฐอเมริกา/เขตปกครองของสหรัฐอเมริกา สำหรับเที่ยวบินกลับของท่านก็จะใช้กฎเดียวกันนี้แม้ว่าท่านมีสต็อปโอเวอร์ระหว่างทางก็ตาม
ในกรณีที่เป็นเที่ยวบินแบบโค๊ดแชร์ซึ่งมีจุดแวะในสหรัฐอเมริกา/เขตปกครองของสหรัฐอเมริกานั้นกฎเรื่องสัมภาระจะใช้ของสายการบินซึ่งเป็นผู้ทำการตลาด
หากในการเดินทางของท่านมีการใช้บริการของหลายสายการบิน โปรดทราบว่ากฎเรื่องสัมภาระของแต่ละสายการบินนั้นอาจไม่เหมือนกัน กฎเรื่องสัมภาระที่ใช้กับการเดินทางของท่านอาจเป็นของสายการบินที่เป็นพาร์ทเนอร์ของเรา ในบางกรณีสายการบินเหล่านั้นอาจเลือกใช้กฎเรื่องสัมภาระของตนแม้ว่าจะมีกฎของโค๊ดแชร์และกฎของการเดินทางทั้งขาออกและขาเข้าแล้วก็ตาม ท่านอาจถูกคิดค่าธรรมเนียมสัมภาระฝากใต้เครื่องหากการเดินทางของท่านเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา/เขตปกครองของสหรัฐอเมริกา โปรดติดต่อตัวแทนออกบัตรโดยสาร/จองบัตรโดยสารและ/หรืออ่านนโยบายเรื่องการอนุญาตสัมภาระและค่าธรรมเนียมสัมภาระทางเว็บไซท์ของผู้ให้บริการดังกล่าวนั้น
นโยบายสัมภาระของสายการบินพาร์ทเนอร์
หมายเหตุ
1. โปรดแจ้งการบินไทยหากลิงค์ใดในหน้าลิงค์ไปยังหน้านโยบายเรื่องสัมภาระของสายการบินที่เป็นพาร์ทเนอร์นี้ใช้การไม่ได้
2. สำหรับสายการบินที่ไม่ปรากฏอยู่ในรายชื่อนี้ โปรดติดต่อสอบถามกับทางสายการบินนั้นๆโดยตรง
กระเป๋าสัมภาระที่มีส่วนควบหรือติดตั้งอุปกรณ์อาทิ ลิเธียมแบตเตอรี่ มอเตอร์ เพาเวอร์แบงค์ จีพีเอส จีเอสเอ็มบลูทูธอาร์เอฟไอดี หรือ ไวไฟ ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ของอากาศยานจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ผู้โดยสารที่มีกระเป๋าซึ่งติดตั้งแบตเตอรี่จะต้องถือกระเป๋าขึ้นเครื่องด้วย โดยแบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่ภายในกระเป๋าจะต้องถูกถอดออกก่อนทำการตรวจรับบัตรโดยสาร เพื่อหยุดการทำงานของอุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์ที่ติดตั้งอยู่ภายในกระเป๋า ทั้งนี้ผู้โดยสารแต่ละท่านสามารถถือสัมภาระขึ้นเครื่องได้หนึ่งชิ้น ความยาวไม่เกิน 56 เซนติเมตร (22 นิ้ว) ความกว้างไม่เกิน 45 เซนติเมตร (18 นิ้ว) และความหนาไม่เกิน 25 เซนติเมตร (10 นิ้ว) ซึ่งขนาดนี้รวมล้อ มือจับและกระเป๋าด้านข้างแล้ว สัมภาระที่ถือขึ้นเครื่องจะต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 7 กิโลกรัม (15 ปอนด์)โดยกระเป๋าสัมภาระที่มีขนาดและน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดไว้จะต้องฝากเข้าใต้เครื่องเป็นสัมภาระลงทะเบียน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธรับกระเป๋าสัมภาระที่มีขนาด หรือน้ำหนักเกินกว่าตามที่ระบุไว้ข้างต้น เป็นสัมภาระลงทะเบียน (Checked Baggage) หากแบตเตอรี่ลิเธียมที่ติดตั้งอยู่กับตัวกระเป๋าสัมภาระนั้นไม่สามารถถอดแยกออกจากกระเป๋าสัมภาระได้
(Dangerous Goods/Hazardous Material)
เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกท่าน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารนำพาสิ่งของที่เป็นวัตถุอันตรายบนทุกเที่ยวบินของการบินไทย ไม่ว่าจะบรรจุในสัมภาระชนิดต่าง ๆ หรือ พกติดตัว ซึ่งวัตถุอันตรายนั้นหมายถึง วัตถุหรือสารซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ความปลอดภัย และ ทรัพย์สิน หรือสภาพแวดล้อม โดยแบ่งได้ 9 ประเภทดังนี้
1. วัตถุระเบิด
2. ก๊าซ
3. ของเหลวไวไฟ
4. ของแข็งไวไฟ
5. สารออกซิไดส์ และ ออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์
6. สารพิษและสารติดเชื้อ
7. วัตถุกัมมันตรังสี
8. สารกัดกร่อน
9. วัตถุหรือสารอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายขณะการขนส่งทางอากาศ รวมถึงสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตามมีสิ่งของบางชนิดที่การบินไทยอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวหรือใส่ไว้ในสัมภาระของท่านได้ตามรายการที่ปรากฏในตารางข้างล่างนี้
หมายเหตุ:
1. ข้อกำหนดอาจแตกต่างกันตามกฎหมายของแต่ละประเทศ หรือ กฎระเบียบของแต่ละสนามบิน
2. “ต้องขออนุญาต” หมายถึงผู้โดยสารจำเป็นต้องแจ้งกับการบินไทยล่วงหน้าเพื่อแสดงความประสงค์และขออนุญาตในการนำพาวัตถุดังกล่าวไปบนเที่ยวบิน
รายการสิ่งของบางชนิดที่การบินไทยอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวหรือใส่ไว้ในสัมภาระได้ |
สัมภาระฝากใต้ท้องเครื่อง |
สัมภาระถือขึ้นเครื่อง |
ต้องขออนุญาตจากสายการบิน |
||
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ ระหว่าง 24% ถึง 70% (หากต่ำกว่า 24% ไม่ถือว่าเป็นวัตถุอันตราย และหากเกิน 70 % ไม่อนุญาตในทุกกรณี) ในบรรจุภัณฑ์ขายปลีกขนาดไม่เกิน 5 ลิตร และสามารถนำไปได้รวมทั้งหมดไม่เกิน 5 ลิตร ต่อผู้โดยสารหนึ่งท่าน |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
เครื่องกระสุน หรือ แมกกาซีนบรรจุกระสุน สำหรับใช้ในการกีฬา จัดเก็บในภาชนะบรรจุหรือหีบห่ออย่างปลอดภัย มีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 5 กิโลกรัมต่อผู้โดยสารหนึ่งท่าน และไม่สามารถรวมน้ำหนักกับผู้โดยสารท่านอื่นได้ |
ได้ |
ไม่ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
ถุงลมนิรภัยที่บรรจุอยู่ในวัตถุต่าง ๆ อาทิเช่นในกระเป๋าเป้กู้ภัย (Avalanche rescue backpack), สามารถนำไปได้ 1 ชิ้นต่อผู้โดยสารหนึ่งท่าน โดยถุงลมเหล่านี้ต้องบรรจุก๊าซที่ไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษ อาจมีตัวจุดระเบิดและเชื้อปะทุตาม Division 1.4 S มีน้ำหนักไม่เกิน 200 มิลลิกรัม โดยวัตถุที่บรรจุถุงลมนิรภัยจะต้องจัดเก็บอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้ถุงลมทำงาน และต้องมีวาล์วเพื่อปล่อยความดันอากาศที่เกิดขึ้นติดตั้งอยู่ด้วย |
ได้ |
ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
กระเป๋าสัมภาระที่มีแบตเตอรี่ชนิดลิเธียม หรือแบตเตอรี่อื่นๆ นอกเหนือจากแบตเตอรี่ลิเธียมที่มีลักษณะคล้ายกระดุม เป็นอุปกรณ์ส่วนควบ โดยแบตเตอรี่ต้องสามารถถอดแยกออกจากตัวกระเป๋า ได้ และจำต้องถอดแบตเตอรี่ออกก่อนที่จะทำการเช็คอิน โดยแบตเตอรี่ที่ถอดออกต้องนำติดตัวไว้ภายในห้องโดยสาร |
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมเมทัล หรือ ลิเธียมไอออน |
||||
แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมเมทัล หรือลิเธียมไอออน สำหรับใช้งานกับอุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์พกพา หรือ สำหรับใช้เป็นแบตเตอรี่สำรอง หรืออุปกรณ์อื่นใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พลังงานไฟฟ้ากับอุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์หรือเป็นแบตเตอรี่แบบถอดออกจากอุปกรณ์ได้ที่มีกำลังไฟไม่เกิน 100 วัตต์ชั่วโมง (20,000 มิลลิแอมป์ชั่วโมง)สำหรับแบตเตอรี่แบบลิเธียมเมทัลต้องมีปริมาณสารลิเธียมไม่เกิน 2 กรัม ทั้งนี้ตัวแบตเตอรี่ต้องจัดเก็บอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการลัดวงจร |
ไม่ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
เตาแคมปิ้ง รวมถึงภาชนะบรรจุเชื้อเพลิงที่มีเชื้อเพลิงเหลวติดไฟบรรจุอยู่ จะต้องกำจัดเชื้อเพลิงที่อยู่ในถังออกให้หมด |
ได้ |
ไม่ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์ตรวจจับสารเคมี อนุญาตเฉพาะเจ้าหน้าที่จากองค์การที่เกี่ยวข้องกับการห้ามใช้อาวุธเคมีเดินทางระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น |
ได้ |
ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์ป้องกันตัว เช่น สเปรย์พริกไทย แก๊สน้ำตา หรือ สารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง |
ไม่อนุญาตในทุกกรณี |
||||
น้ำแข็งแห้ง (คาร์บอนไดออกไซด์ชนิดแข็ง) น้ำแข็งแห้งต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 2.5 กิโลกรัมต่อผู้โดยสารหนึ่งท่าน และหีบห่อบรรจุจะต้องให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระเหิดออกได้ |
ได้ |
ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงซิการ์ไฟฟ้า ไปป์ไฟฟ้า หรือเครื่องสูดไอระเหยส่วนบุคคลแบบไฟฟ้า ที่บรรจุแบตเตอรี่ลิเธียมอยู่ภายใน และต้องบรรจุอยู่ในหีบห่อหรือกล่อง เพื่อป้องกันการเปิดใช้งานโดยมิได้ตั้งใจ |
ไม่ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
อาวุธช๊อตไฟฟ้าชนิดต่างๆอาทิเช่น ปืนไฟฟ้า กระบองไฟฟ้า รวมถึงไม้ช๊อตยุงไฟฟ้า |
ไม่อนุญาตในทุกกรณี |
||||
เซลล์เชื้อเพลิง หรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียง สำหรับให้พลังงานแก่อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบพกพา เช่นกล้องถ่ายรูป โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์พกพา |
ไม่ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
เซลล์เชื้อเพลิงสำรอง |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
กระบอกอัดก๊าซขนาดเล็กที่มีความจุของกระบอกไม่เกิน 50 มิลลิลิตรบรรจุก๊าซแบบไม่ติดไฟ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซที่ไม่ติดไฟชนิดอื่น ๆ และไม่เป็นก๊าซพิษ ซึ่งอาจบรรจุในเสื้อชูชีพชนิดพองลมได้เอง อนุญาตให้นำไปได้ท่านละ 2 กระบอกที่ติดรวมอยู่กับอุปกรณ์ และ 2 กระบอกสำหรับสำรอง รวมทั้งสิ้นท่านละ 4 กระบอก และอนุญาตให้นำอุปกรณ์ชนิดนี้ไปได้ท่านละไม่เกิน 1 ชิ้น |
ได้ |
ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
กระบอกลูกสูบแบบอัดก๊าซ สำหรับใช้กับอวัยวะเทียม เช่น แขนและขาเทียม ภายในบรรจุก๊าซไม่ติดไฟ และ ไม่เป็นพิษ ทั้งนี้กระบอกสำรองให้พิจารณาขนาดตามความเหมาะสม และให้เพียงพอต่อการใช้งานระหว่างเดินทาง |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์ดัดผมที่ใช้ความร้อนจากก๊าซประเภทไฮโดรคาร์บอน อนุญาตให้นำไปได้ท่านละ1 ชิ้น โดยจะต้องมีฝาครอบตัวทำความร้อนอยู่ด้วย |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนสูง เช่นไฟฉายใต้น้ำ หรือหัวแร้งบัดกรี ต้องจัดเก็บในกล่องและแยกบรรจุแหล่งพลังงานเพื่อป้องกันการเปิดใช้งานโดยมิได้ตั้งใจ |
ได้ |
ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
ภาชนะหุ้มฉนวน ที่บรรจุไนโตรเจนเหลว ใช้เพื่อให้ความเย็นกับวัตถุอื่น ๆ ที่มิใช่วัตถุอันตราย โดยต้องมีการซึมซับในวัสดุเฉพาะเพื่อป้องกันการรั่วไหลออกจากภาชนะบรรจุ |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
เครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ เครื่องยนต์ใช้เซลล์เชื้อเพลิง เช่น เครื่องปั่นไฟที่มีขนาดเล็ก เครื่องตัดหญ้า เลื่อยไฟฟ้า ทั้งนี้เครื่องยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน IATA DGR Special Provisions: A70 และต้องไม่มีเชื้อเพลิงตกค้างภายใน |
ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
หลอดไฟชนิดประหยัดพลังงาน เช่นหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดนีออน หลอดตะเกียบ สำหรับใช้งานภายในบ้าน ต้องจัดเก็บในบรรจุภัณฑ์สำหรับขายปลีกเท่านั้น |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่บรรจุแบตเตอรี่ลิเธียมอยู่ภายใน เช่นเครื่องตรวจโลหะแบบพกพา |
ได้ |
ไม่ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา (PED) ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมเมทัล หรือ ลิเธียมไอออนเป็นเป็นแหล่งพลังงาน อาทิ กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์เคลื่อนที่ แทบเลต คอมพิวเตอร์พกพา รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดพกพาเช่นเครื่อง Portable Oxygen Concentrators (POC) ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงาน FAA และ กระเป๋าสัมภาระที่มีแบตเตอรี่ชนิดลิเธียม หรือแบตเตอรี่อื่นๆ นอกเหนือจากแบตเตอรี่ลิเธียมที่มีลักษณะคล้ายกระดุม เป็นอุปกรณ์ส่วนควบเพื่อใช้เป็นการส่วนตัว ซึ่งไม่ใช่เพื่อการค้า โดยลิเธียมเมทัลแบตเตอรีจะต้องมีมีปริมาณสารลิเธียมไม่เกิน 2 กรัม หรือ ลิเธียมไอออนแบตเตอรีจะต้องให้กำลังไฟไม่เกิน 100 วัตต์ชั่วโมง (20,000 มิลลิแอมป์ชั่วโมง หากเก็บอุปกรณ์ดังกล่าว ไว้ในสัมภาระฝากใต้ท้องเครื่อง จะต้องปิดอุปกรณ์ดังกล่าว โดยต้องให้แน่ใจว่าจะไม่ทำงานเองระหว่างเที่ยวบิน และต้องป้องกันความเสียหายอันเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ด้วย |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
พาวเวอร์แบงก์ หรือ อุปกรณ์สำรองไฟ |
ไม่ได้ |
ได้ พิจารณาตามกำลังไฟของพาวเวอร์แบงค์ |
ไม่ต้องขออนุญาต* |
||
ยานพาหนะส่วนบุคคล หรือยานพาหนะขนาดเล็กอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงที่ใช้กำลังไฟจากแบตเตอรี่ลิเธียม รวมทั้งอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ซึ่งไม่ถือเป็นอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่ |
ไม่อนุญาตในทุกกรณี |
||||
แบตเตอรี่สำรอง ที่ให้กำลังไฟเกิน 100 แต่ไม่เกิน 160 วัตต์ชั่วโมง (20,000 – 32,000 มิลลิแอมป์ชั่วโมง) สำหรับให้พลังงานแก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล และเครื่องมือทางการแพทย์แบบพกพา แบตเตอรี่มีปริมาณสารลิเธียมอยู่ระหว่าง 2 ถึง 8 กรัม ซึ่งอนุญาตเฉพาะเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ระหว่างการเดินทางเท่านั้น สามารถนำไปได้ท่านละไม่เกิน 2 ก้อน และแต่ละก้อนต้องจัดเก็บอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการลัดวงจร |
ไม่ได้ |
ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา รวมถึงเครื่องมือทางการแพทย์แบบพกพา ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมเมทัล หรือ ลิเธียมไอออนเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งแบตเตอรี่ดังกล่าวให้กำลังไฟระหว่าง 100 – 160 วัตต์ชั่วโมง (20,000 – 32,000 มิลลิแอมป์ชั่วโมง) โดยแบตเตอรี่มีปริมาณสารลิเธียมอยู่ระหว่าง 2 ถึง 8 กรัม ซึ่งอนุญาตเฉพาะเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ระหว่างการเดินทางเท่านั้น
หากเก็บอุปกรณ์ดังกล่าว ไว้ในสัมภาระฝากใต้ท้องเครื่อง จะต้องปิดอุปกรณ์ดังกล่าว โดยต้องให้แน่ใจว่าจะไม่ทำงานเองระหว่างเที่ยวบิน และต้องป้องกันความเสียหายอันเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ด้วย |
ได้ |
ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
ไม้ขีดไฟแบบแผง หรือไฟแช็คขนาดเล็ก ที่ใช้เชื้อเพลิงแบบก๊าซเหลว สำหรับใช้งานระหว่างการเดินทาง โดยอนุญาตให้พกติดตัวเท่านั้น |
ไม่ได้ |
ให้พกติดตัวเท่านั้น |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่เช่นวิลแชร์ ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ชนิดเปียกที่ป้องกันการรั่วไหล อนุญาตให้นำไปได้ โดยแนะนำให้ตัดวงจร หรือ ปลดขั้วแบตเตอรี่พร้อมทั้งห่อหุ้มขั้วแบตเตอรี่ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการลัดวงจรแบตเตอรี่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน IATA DGR Special provision: A123 หรือ A199 |
ได้ |
ไม่ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่เช่นวิลแชร์ ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ชนิดเปียกที่ไม่ป้องกันการรั่วไหล หรือลิเธียมแบตเตอรี่สำหรับวีลแชร์แบบพับไม่ได้ อนุญาตให้นำไปได้ และในบางกรณีอาจต้องแยกตัวแบตเตอรี่ ไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงพร้อมทั้งใส่วัสดุซึมซับเฉพาะสำหรับสารกัดกร่อนที่อาจรั่วไหลออกมา |
ได้ |
ไม่ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่เช่นวิลแชร์แบบพับได้ ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ชนิดลิเธียมไอออน อนุญาตให้นำไปได้โดยต้องถอดแบตเตอรี่ออก เพื่อถือขึ้นเครื่อง |
ไม่ได้ |
ได้ |
ต้องขออนุญาต |
||
ยาหรือเครื่องสำอาง ที่ไม่มีสารกัมมันตรังสี รวมถึงสเปรย์ต่าง ๆเช่นสเปรย์แต่งผม น้ำหอม โคโลจน์ และ ยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
โดยมีปริมาตรรวมกันของยาหรือเครื่องสำอาง ที่ไม่มีสารกัมมันตรังสี รวมถึงสเปรย์ต่าง ๆ และ สเปรย์ ที่ไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษ ต้องไม่เกิน 2 ลิตร หรือน้ำหนักรวมไม่เกิน 2 กิโลกรัม มีปริมาตรต่อชิ้นไม่เกิน 500 มิลลิลิตร หรือ 500 กรัม ต้องมีฝาครอบเพื่อป้องกันการฉีดสเปรย์โดยมิได้ตั้งใจ |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
สเปรย์ ที่ไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษ สำหรับใช้เพื่อการกีฬา และใช้งานในบ้าน โดยมีปริมาตรรวมกันของยาหรือเครื่องสำอาง ที่ไม่มีสารกัมมันตรังสี รวมถึงสเปรย์ต่าง ๆ และ สเปรย์ ที่ไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษ รวมกันต้องไม่เกิน 2 ลิตร หรือน้ำหนักรวมไม่เกิน 2 กิโลกรัม มีปริมาตรต่อชิ้นไม่เกิน 500 มิลลิลิตร หรือ 500 กรัม ต้องมีฝาครอบเพื่อป้องกันการฉีดสเปรย์โดยมิได้ตั้งใจ |
ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
ถังออกซิเจน หรือ ถังอัดอากาศ ทุกประเภทสำหรับใช้กับผู้ป่วย ไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องในทุกรณี หากผู้โดยสารมีความจำเป็น การบินไทยมีอุปกรณ์ดังกล่าวให้บริการ โปรดติดต่อสำนักงานขายเพื่อแจ้งความประสงค์ |
ไม่อนุญาตในทุกกรณี |
||||
เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ อุปกรณ์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตาม IATA DGR Special Provisions: A41 |
ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดเปียกที่ป้องกันการรั่วไหลเป็นแหล่งพลังงาน อนุญาตให้นำไปได้พร้อมแบตเตอรี่สำรองไม่เกิน 2 ก้อน โดยแบตเตอรี่ต้องมีกำลังไฟไม่เกิน 12 โวลต์ หรือต่ำกว่า 100 วัตต์ชั่วโมง (20,000 มิลลิแอมป์ชั่วโมง) และ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน IATA DGR Special provision: A67 |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
เครื่องกระตุ้นหัวใจ ชนิดที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ลิเธียม ที่ฝังอยู่ภายในร่างกายหรือพกติดตัว สำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วย |
ไม่ได้ |
ให้พกติดตัวเท่านั้น |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เช่นกล่องเงินสด ถุงเงินสด ที่มีส่วนประกอบเป็นแบตเตอรี่ลิเธียม หรือ เชื้อปะทุต่าง ๆ |
ไม่อนุญาตในทุกกรณี |
||||
ตัวอย่างทางชีวภาพ เช่นเนื้อเยื่อ เลือด ที่ไม่ติดเชื้อ จำนวนเล็กน้อย บรรจุในของเหลวไม่ติดไฟ ตามมาตรฐาน IATA DGR Special provision: A180 |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
เครื่องวัดอุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์ หรือปรอทวัดไข้ที่ใช้ทางการแพทย์ สำหรับใช้งานส่วนบุคคล ต้องบรรจุในกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันการแตกหัก อนุญาตให้นำไปได้ท่านละ 1 ชิ้น |
ได้ |
ได้ |
ไม่ต้องขออนุญาต |
||
เครื่องวัดอุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์ หรือเครื่องวัดความดันอากาศ ที่บรรจุปรอทไว้ภายใน ต้องบรรจุในกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันการแตกหัก อนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐจากหน่วยงานอุตุนิยมวิทยา |
ไม่ได้ |
ได้ |
ต้องขออนุญาต |
Subscribe To Our Newsletter